ผีเสื้อในประเทศไทย

     เรามักพบผีเสื้อสีสดสวย กางปีก ๒ คู่ที่มีลวดลาย สีสัน งดงาม รูปร่างปีกก็แปลกๆตาน่าชม บินว่อนร่อนลมอยู่ทั่วไป รอบๆบริเวณ บ้าน ตามสุมทุมพุ่มไม้ ตามป่าหญ้า ป่าเขา ริมลำธาร ใกล้ หนองน้ำ เหนือพื้นดินพื้นทรายที่ชุ่มชื้น จะมีผีเสื้อกลางวันให้เรา ดูเล่นชมเล่นเสมอๆ เรารู้ว่า ผีเสื้อแสนสวยเหล่านี้ มีมากมายหลายชนิด
           เป็นที่น่าสังเกตว่า ผีเสื้อก็ชอบดอกไม้บาน เช่นเดียวกับแมลงจำพวก ผึ้งหรือแมลงภู่ ที่ไหนมีดอกไม้สวยๆ ออกดอกบานสะพรั่ง ส่งทั้ง กลิ่น และสีล่อใจแมลงอยู่ ที่นั่นเราก็จะพบผีเสื้อและแมลงเหล่านี้บิน วนเวียนอยู่ใกล้ๆ เพราะผึ้งก็ดี แมลงภู่ก็ดี รวมทั้งผีเสื้อด้วย ต่างก็ กินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้เป็นอาหารเช่นกัน 
           เราจะรู้สึกสดชื่นรื่นรมย์ใจ เมื่อได้ชมธรรมชาติเช่นนี้ เพราะ ยามใดที่เราได้เห็นลวดลาย สีสันอันงดงามของเหล่าผีเสื้อ ตลอด จนท่าทีที่มันบินว่อนร่อนชมดอกไม้ ยามนั้นเราจะพลอยรู้สึกถึง ความหอม ความหวานของดอกไม้ จะพลอยรู้สึกถึงคุณค่าและ ความงามของธรรมชาติรอบตัวเราไปด้วย



             ในแง่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จำนวนและชนิด ของผีเสื้อในป่าหนึ่งๆ ย่อมแสดงให้เห็นถึงธรรมชาติและสภาพ ที่แท้จริงของป่านั้นๆ ว่ามีความเป็นป่าสมบูรณ์เพียงใด เช่น ป่า ที่ถูกเผาถางทำลายลงไปมากขึ้น จำนวนชนิดของผีเสื้อที่พบจะ ลดน้อยลงไปด้วย หรือถ้าพบแต่ผีเสื้อที่ตัวหนอนกินพืชจำพวก หญ้าหรือพืชตระกูลถั่วเท่านั้น ก็จะทราบได้ทันทีว่าสภาพป่าได้ ถูกทำลายลงเป็นทุ่งหญ้าทั้งหมดแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างป่า กับผีเสื้อจึงค่อนข้างแน่นแฟ้น ผีเสื้อจะหมดไปอย่างรวดเร็วเมื่อป่า ถูกทำลาย ความชื้นที่ผีเสื้อส่วนมากชอบก็จะหมดไป ต้นไม้ที่ เป็นอาหารของตัวหนอนก็จะขาดแคลนด้วย
           ผีเสื้อเป็นกลุ่มของแมลงที่นักสัตววิทยาจัดไว้ในอันดับ เลพิดอปเทอรา (Order Lepidoptera) มาจากคำว่า lepis แปลว่าเกล็ด และ pteron แปลว่าปีก แมลงในอันดับนี้จึงมีแผ่น ปีกปกคลุมด้วยเกล็ดสีเล็กๆ เรียงซ้อนกันแบบกระเบื้องมุมหลังคา เกล็ดสีเล็กๆเหล่านี้ เมื่อดูด้วยตาเปล่า จะเห็นเป็นผงสีต่างๆ ซึ่งจะ หลุดติดมือออกมาเมื่อเราจับปีกของผีเสื้อ ผีเสื้อในอันดับนี้ยังแยก ออกเป็น ๒ พวก คือ อันดับย่อยผีเสื้อกลางวัน (Butterflier) พวก นี้มีหนวดตอนปลายพองออกเป็นรูปกระบอง และอันดับย่อยผีเสื้อ กลางคืน (Moths) ซึ่งมีหนวดรูปร่างต่างๆ กันหลายแบบ


  ผีเสื้อกลางคืน ก็มีเหมือนกัน คือ ที่เราพบบินตอมอยู่รอบๆ ดวงไฟตามบ้านเรือน หรือเกาะพักนิ่งอยู่กับฝาเรือน เพดานห้อง บางครั้งเราก็พบผีเสื้อกลางคืนซึ่งมีสีคล้ำๆ มัวๆ กระพือปีกอยู่ใน ที่มืด หรือมีแสงขมุกขมัว เราจะสังเกตเห็นได้ว่า ผีเสื้อกลางคืนมี รูปร่างลักษณะบางอย่างแตกต่างจากผีเสื้อกลางวัน เช่น มีลำตัวอ้วน กว่า สั้นกว่า ปีกของผีเสื้อกลางวันมีลวดลาย และสีสันสดใส สะดุดตา และงดงามกว่า เวลาเกาะนิ่ง ผีเสื้อกลางวันจะชูปีกตั้งตรงขึ้นบนหลัง ลำตัว แต่ผีเสื้อกลางคืนจะเกาะนิ่งโดยหุบปีกตกลงข้างๆ ลำตัว คล้าย กระโจมผ้าใบที่กางไว้ผีเสื้อกลางวันจึงน่าดู น่าชม และทำให้ธรรมชาติสวยงามมีชีวิต ชีวามากกว่าผีเสื้อกลางคืน           ผีเสื้อเป็นแมลงจำพวกหนึ่ง เราจัดแมลง (Insects) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูก สันหลังชั้นสูง อยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Arthropoda) ซึ่งเป็นไฟลัมที่มีจำนวน ชนิดของสัตว์มากที่สุด สำหรับผีเสื้อเองนั้น เมื่อรวมทั้งผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อ กลางคืนแล้วมีจำนวนชนิดมากถึง ๑๔๐,๐๐๐ ชนิด จัดเป็นแมลงจำพวกที่มีความ แตกต่างกันในเรื่องขนาดมากที่สุด บางชนิดเล็กมาก เมื่อกางปีกเต็มที่จะโตไม่ เกิน ๑/๔ นิ้ว บางชนิดใหญ่มาก เช่น ผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่งในอเมริกาใต้ เมื่อกางปีกเต็มที่จะโตถึง ๑ ฟุต
         รูปร่างของผีเสื้อประกอบด้วยลำตัวซึ่งไม่มีโครงกระดูกอยู่ภายใน มีขา ๖ ขาเช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่นๆ ลำตัวเป็นวงแหวนหลายวงเชื่อมต่อกันด้วย เยื่อบางๆ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ลำตัวเคลื่อนไหวได้สะดวก ผีเสื้อมีปีก ๒ คู่ ปีก คู่หลังจะมีขนาดเล็กกว่าปีกคู่หน้า ขณะบินปีกทั้งสองคู่จะแผ่กางออก และยึด ติดเป็นแผ่นเดียวกันในแต่ละข้างด้วยวิธีซ้อนปีกอัดติดกันแน่น หรือใช้ขอเล็กๆ ที่โคนปีกเกี่ยวกันไว้ พวกปีกเล็กเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวจะกระพือปีกเร็ว พวก ปีกใหญ่เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวจะกระพือปีกช้าเวลาบินจึงมีลักษณะเหมือนร่อน ไปตามลม
 ผีเสื้อมีตารวมใหญ่คู่หนึ่งอยู่ด้านข้างของส่วนหัว สามารถรับรู้ภาพของ วัตถุที่เคลื่อนที่ได้เร็ว จึงบินได้ว่องไว ตามจับได้ยาก มีหนวดคู่หนึ่งอยู่ระหว่าง ตารวมสำหรับรับรู้กลิ่น ข้างใต้ส่วนหัวมีงวงซึ่งใช้ดูดน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ หรืออาหารเหลวอื่นๆ เวลาที่ไม่ใช้งาน งวงนี้จะม้วนขดไว้เป็นวง
          สัตว์พวกแมลงมีการเจริญเติบโตแตกต่างกัน บางชนิดเช่นพวกตั๊กแตน เมื่อฟักตัวออกจากไข่ ตัวอ่อนจะมีรูปร่างลักษณะเป็นตัวเหมือนตัวตั๊กแตนเต็ม วัยเลยทีเดียว เพียงแต่สัดส่วน หรือขนาดอวัยวะบางส่วนแตกต่างไป เช่น เมื่อ ฟักออกมาจากไข่ใหม่ๆ ลูกตั๊กแตนจะหัวโต ตัวสั้น ขนาดตัวเล็ก ต่อมาก็มีการ ลอกคราบอีกหลายครั้งกว่าจะโตเต็มวัย ในแต่ละครั้งที่ลอกคราบ ลูกตั๊กแตนก็ จะตัวโตขึ้น และเปลี่ยนแปลงลักษณะใกล้เคียงตัวเต็มวัยยิ่งขึ้น 
ผีเสื้อมีการเจริญ เติบโตแตกต่างไปจากตั๊กแตน กล่าวคือ มีการเจริญเติบโตแบบครบ ๔ ขั้น ซึ่ง ในแต่ละขั้นนั้น ตัวอ่อนจะมีรูปร่างลักษณะและความเป็นอยู่แตกต่างกันอย่าง น่าสังเกต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น