วงศ์ของผีเสื้อ

          ผีเสื้อที่มีลักษณะโบราณ ปีกทั้งสองคู่มีขนาดใกล้เคียง กัน การจัดเรียงของเส้นปีกคล้ายคลึงกัน ปีก ๒ คู่เชื่อมยึดกัน แบบติ่งเกี่ยวกัน (jugal type) หนวดสั้นมาก ส่วนปากเสื่อม หายไป วงศ์นี้มีอยู่ประมาณ ๓๐๐ ชนิด พบมากที่สุดในทวีป ออสเตรเลีย หนอนอาศัยอยู่ใต้ดิน เจาะกินอยู่ภายในลำต้นและ รากพืชเติบโตช้ามาก ผีเสื้อพวกนี้บินได้เร็วมาก ผีเสื้อตัวผู้ชอบ บินจับกลุ่มกันในเวลาพลบค่ำ รอให้ตัวเมียบินเข้าไปรับการผสม พันธุ์ ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวที่เป็นศัตรูป่าไม้ จัดอยู่ ในสกุลPhassus


 วงศ์ผีเสื้อหนอนหอย (Eucleidae)



          ผีเสื้อในวงศ์นี้มีลำตัวอ้วน ปีกสั้น แต่บินได้เร็ว ส่วนมาก มีสีน้ำตาลแต้มเขียวหรือน้ำตาลแดง ส่วนปากเสื่อมไปมาก ไข่มีรูปร่างแบนคล้ายเหรียญ หนอนมีรูปร่างแปลกจากวงศ์อื่นๆ โดยมีรูปร่างคล้ายตัวทาก มีสีและลวดลายต่างๆสวยงาม หัวซ่อนอยู่ใต้ลำตัว รอบๆ ตัวมีกระจุกขนที่มีพิษทำให้ผู้ที่โดนมี อาการปวดแสบปวดร้อน จึงเรียกกันว่า "ตัวเขียวหวาน" หนอน บางชนิดมีลำตัวเรียบ ไม่มีหนามเลย ชนิดที่มีความสำคัญทาง เศรษฐกิจ เช่น Parasa lepida กินใบพืชหลายชนิด และ Thosea spp. กินใบไม้ผลหลายชนิด






วงศ์ผีเสื้อหนอนมะไฟ (Zygaenidae)


                ผีเสื้อกลางคืนที่ออกหากินในเวลากลางวัน สีสดใส บอกความเป็นพิษในตัว จึงมีผีเสื้อชนิดอื่นๆ มาเลียนแบบ ใน ประเทศไทย พบว่าเป็นศัตรูของไม้ผล กินใบมะไฟ คือ Cyclosia panthona และ C. papilionaris


วงศ์ผีเสื้อลายจุด (Yponomeutidae)


                ผีเสื้อขนาดเล็กถึงขนาดกลาง บริเวณหัวดูเรียบกว่าผีเสื้อ พวกอื่นๆ ปีกสีสวย หรือสีหม่น บางชนิดที่ปลายปีกคู่หน้ามี ลักษณะคล้ายขอ หนอนบางชนิดอาศัยอยู่เป็นกลุ่มในรังที่ทำด้วย ใยเหนียว บางชนิดเป็นหนอนชอนใบ บางชนิดเจาะผลไม้


วงศ์ผีเสื้อหนอนกอ (Pytralidae)

                วงศ์ที่ใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของพวกผีเสื้อ ส่วนมากมีปีก ยาวเรียว ส่วนท้องเรียวแหลม ขายาว โดยทั่วไปปีกมีสีหม่น บางชนิดมีลายขีดวาวคล้ายโลหะ ตอนโคนส่วนท้องมีอวัยวะรับ เสียงอยู่คู่หนึ่ง ส่วนมากออกหากินในเวลากลางคืน หนอนเป็น ศัตรูสำคัญของพวกธัญพืช เช่น ผีเสื้อชีปะขาว (Tryporyza incertulas) ผีเสื้อหนอนกอข้าว ในสกุล Chilo และ Chilotraea นอกจากนี้ หนอนในวงศ์นี้ยังเป็นหนอนม้วน ใบของพืชอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น มันเทศ ละมุด ถั่ว ฟัก แฟง เป็นต้น หนอนบางกลุ่มดัดแปลงตัวเพื่ออาศัยอยู่ใต้น้ำ สร้างเหงือก ไว้หายใจ อาศัยอยู่ในปลอก กัดกินพืชน้ำเป็นอาหาร ชนิดที่มีความ สำคัญมากในประเทศไทย คือ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (Ostrinia salentialis)




      วงศ์ผีเสื้อหนอนบังใบ (Lasiocampidae)




                  ผีเสื้อขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำตัวค่อนข้างอ้วนและมี ขนปกคลุมหนาแน่น ปีกกว้าง ขอบหน้าของปีกคู่หลัง มักพอง ยื่นไปข้างหน้า บริเวณนั้นมีเส้นปีกสั้นๆ พยุงอยู่หลายเส้น ไม่ พบมีหนามสำหรับเกี่ยวปีก ส่วนปากเสื่อมไป หนวดมักเป็นแบบ ฟันหวีผีเสื้อในวงศ์นี้วางไข่เป็นกลุ่มติดอยู่ตามกิ่งไม้ หนอน มีขนปกคลุมหนาแน่น และสีสดสะดุดตาหลายชนิดทำลายใบ ไม้ผล เช่น หนอนบุ้งกินใบชมพู่ (Trabala vishnou) ตัวผู้มีสีเขียวอ่อน แต่ตัวเมียซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ามีสีเหลืองสด



        วงศ์ผีเสื้อยักษ์ (Saturnidae)



                     ผีเสื้อในวงศ์นี้มีขนาดของปีกใหญ่ที่สุด จำนวนชนิดไม่ มากนัก หนวดมีรูปร่างแบบฟันหวี เห็นได้ชัดมากในตัวผู้ ส่วน ปากหดหายไป จึงไม่กินอาหารเลย หนอนมีขนาดใหญ่มาก มี ปุ่มหนามทั่วตัว เข้าดักแด้ในรังดักแด้ที่เอาใบไม้แห้งหลายใบมา พันเข้าด้วยกัน ชนิดที่รู้จักกันดีคือ ผีเสื้อหนอนใบกระท้อนหรือ ผีเสื้อยักษ์ (Attacus atlas) มีปีกแผ่กว้างถึง ๑๕-๑๘ เซนติเมตร ผีเสื้อหนอนอะโวกาโด (Cricula trifenestrata)ผีเสื้อพระจันทร์(Actias selene) ปีกสีเขียว หางยาวมาก ผีเสื้อที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยเราได้เส้นไหมจากรังดักแด้มาทอผ้า ได้แก่ พวกผีเสื้อไหมป่า ในสกุล Antheraea และ Philosamia



          วงศ์ผีเสื้อหนอนคืบ (Geometridae)

           


                     เป็นวงศ์ที่ใหญ่เป็นอันดับ ๒ ปีกบาง ขนาดเล็กมากจน ถึงขนาดปานกลาง สีและลวดลายมักคล้ายกันทั้งสองปีก เวลา เกาะกับพื้นจะแผ่ปีกแบนราบกับที่เกาะ หนอนได้ชื่อว่า "หนอน คืบ" เนื่องจากมันมีขาอยู่ตอนปลายสุดทางหัวและทางท้าย เวลาเคลื่อนที่จึงใช้วิธีคืบไป หนอนมีสีและลวดลายใกล้เคียงกับ พืชอาหาร เวลาตกใจจะยืดตัวตรง อยู่นิ่งเฉยเป็นเวลานาน เข้า ดักแด้ในดินหรือในรังดักแด้ ที่ห่อเอาใบไม้มาติดกันไว้หลวมๆ ชนิดที่สำคัญทางเศรษฐกิจ คือผีเสื้อหนอนกินใบเงาะ (Pingasa ruginaria)



            วงศ์ผีเสื้อปีกขอ (Drepanidae)

             


                        ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับผีเสื้อหนอนคืบมาก แต่ส่วนมาก จะมีมุมปลายปีกคู่หน้าโค้งงอคล้ายตะขอ หนามสำหรับเกี่ยวปีก เล็กมาก หรือไม่มีเลย ส่วนมากมีสีน้ำตาล มีชุกชุมมากที่สุด ในบริเวณเอเชียเขตร้อน หนอนตัวเรียว ตอนปลายตัวมีติ่งยื่น ออกไป ติ่งนี้จะยกขึ้นมาได้ เข้าดักแด้ตามใบไม้บนดิน


              วงศ์ผีเสื้อเหยี่ยว (Sphingidae)



                          ผีเสื้อขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำตัวค่อนข้างใหญ่ เมื่อ เทียบกับปีก หนวดพองออก ตอนปลายมีขอเล็กๆ บินได้เร็ว กระพือปีกถี่มาก เวลากินน้ำหวานจากดอกไม้จะบินนิ่งอยู่กับที่ แล้วสอดงวงเข้าไปดูดกิน เวลากลางวันเกาะพักนอนตามพุ่มไม้ และเปลือกไม้ ออกหากินตอนเย็นและตอนใกล้ค่ำ หนอนมีลำตัว อ้วน เกลี้ยง สีเขียวหรือน้ำตาลเป็นส่วนมาก ปลายตัวมีหนาม ยื่นยาวออกมา จึงได้ชื่อว่า "หนอนหงอน" เวลาถูกรบกวนจะ ยกส่วนหน้าของลำตัวชูขึ้นมา เข้าดักแด้ในดิน ชนิดที่พบบ่อยๆ ได้แก่ ผีเสื้อหนอนหงอนกาแฟ (Cephanodes hylas) ผีเสื้อหัวกะโหลก(Acherontia styx) ที่มีลายรูปคล้าย หัวกะโหลกบนลำตัว กินใบมันเทศและยาสูบ หนอนแก้วยี่โถ (Dielephisl nerii) กินใบยี่โถและใบชวนชื่น



                วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Pieridae)



                            พบอาศัยอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตร้อน มักมีปีกสีเหลือง และขาว ขาคู่หน้าเจริญดีเหมือนผีเสื้อหางติ่ง เล็บที่ปลายเท้ามี ๔ ซี่ ต่างจากผีเสื้อในวงศ์อื่นที่มีเพียง ๒ ซี่เท่านั้น ในประเทศ ไทยมีประมาณ ๕๐ ชนิด ที่พบเห็นทั่วโลกคือ ผีเสื้อหนอนคูน (Catopsilia pomona) กินใบคูน และใบขี้เหล็ก ผีเสื้อเณร (Eurema spp.) ตัวเหลืองเล็ก บินเรี่ยๆ ตามกอหญ้า หนอนสีเขียวใบไม้มีลายขาวพาดด้านข้างตัวตลอด ตัว มักพบลงเกาะดูดกินน้ำตามทรายชื้นเป็นกลุ่มใหญ่



                วงศ์ผีเสื้อหางเหลือง (Lymantriidae)




                             เป็นวงศ์ผีเสื้อขนาดเล็กมีแพร่กระจายทั่วโลก บางชนิดเป็น แมลงศัตรูป่าไม้ที่สำคัญในเขตอบอุ่น ไม่มีงวงดูดอาหาร และไม่มี ตาเดี่ยว ตัวผู้มีหนวดแบบฟันหวี และเป็นฝ่ายบินไปหาตัวเมีย ซึ่งไม่มีปีกเลย หรือมีปีกขนาดเล็กมาก ตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่ม ปกคลุมด้วยขนจากส่วนท้อง หนอนมีขนเป็นกระจุกสีต่างๆ มีพิษทำให้คันได้ ชนิดที่พบเป็นศัตรูพืชในประเทศไทย คือ บุ้งเหลือง (Dasychira horsfieldi) กินใบชมพู่ ฝรั่ง ข้าวโพด บุ้งหูแดง (Euproctis virguncula) กินใบข้าวโพด และบุ้งปกขาว (Orygia turbata) กินใบถั่วลิสง ผีเสื้อในวงศ์ต่อไปนี้ จัดไว้เป็นพวกผีเสื้อกลางวัน (but- terflies) มีในประเทศไทยทั้งหมด ๑๑ วงศ์ 



                  วงศ์ผีเสื้อมอทป่า (Agaristidae)



                               ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหนอนกระทู้ปีกดำ แต้มจุดและแถบสีแดง เหลือง และส้ม ออกหากินในเวลากลางวัน หนอนมีสีสด และออกกินใบพืชในที่โล่งแจ้ง












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น