วิวัฒนาการของผีเสื้อ


ระยะไข่
          หลังจากผีเสื้อตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้แล้วสัก ระยะหนึ่ง ไข่ที่มีอยู่จะได้รับการผสมพร้อมที่จะวางไข่ออก มา ตัวเมียจะเสาะหาพืชอาหารที่เหมาะสมกับตัวหนอน โดย การเกาะลงบริเวณใบพืช ทดสอบโดยการแตะด้วยปลายท้อง ถ้าไม่ใช่พืชที่ต้องการ ก็จะบินไปเรื่อยๆ จนพบ เมื่อพบแล้ว จะค่อยๆ ยืดส่วนท้องลงวางไข่ไว้ใต้ใบ แต่บางชนิดวางไข่ ทางด้านหลังใบ ส่วนมากจะวางไข่ฟองเดียว พวกผีเสื้อตัว หนอนกินใบหญ้าจะปล่อยไข่ลงสู่ป่าหญ้าเลย ผีเสื้อกลางคืน ที่วางไข่เป็นกลุ่ม บางครั้งมีขนจากลำตัวปกคลุมเอาไว้
         ไข่ของผีเสื้อมีรูปร่างและสีแตกต่างกันตามวงศ์ จึงอาจ บอกวงศ์ของมันได้โดยการดูจากไข่ ผีเสื้อหนอนกะหล่ำมีไข่ รูปร่างเหมือนขวดทรงสูงสีเหลืองหรือสีส้ม ผีเสื้อขาหน้าพู่ วางไข่รูปร่างเกือบกลม สีเขียว มีสันพาดตามยาว พวกที่ ไข่รูปร่างกลมแบน สีขาว มีจุดดำตรงกลาง ได้แก่ พวกผีเสื้อ สีน้ำเงิน จุดดำดังกล่าวเป็นช่องที่เชื้อตัวผู้เข้าผสม เรียกว่า ไมโครไพล์ (micropyle) พวกผีเสื้อบินเร็วมีไข่หลายแบบ อาจจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือกลม โค้ง แบน คล้ายผีเสื้อหางติ่ง แต่ไข่ของผีเสื้อพวกหลังนี้สีเหลือง กลม และมีขนาดใหญ่กว่าผีเสื้ออื่นๆ


ระยะตัวหนอน
          ตัวหนอนของผีเสื้อมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามวงศ์ และสกุล ส่วนมากไม่มีขนปกคลุมเหมือนหนอนของผีเสื้อ กลางคืน ตัวหนอนมีสีสด หรือสีสันกลมกลืนไปกับพืชอาหาร อาหารมื้อแรกของตัวหนอนหลังจากฟักออกจากไข่ คือ เปลือก ไข่ที่เหลืออยู่ อาจเพื่อกลบเกลื่อนร่องรอย หรือในเปลือกไข่มี สารบางอย่างที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เมื่อออกมาใหม่ๆ มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และลอกกินผิวใบพืชจนเกิดเป็นช่องใส ต่อมาจะค่อยๆ กระจายกันออกไป การกัดกินมักกินจากขอบใบ เข้ามาหากลางใบ
            รูปร่างของหนอนแตกต่างกันไปมาก คือ หนอนผีเสื้อ ดอกรัก ตัวมีลายพาดขวางตัวสีเหลืองสลับดำ และมีขนยาวอีก ๒-๔ คู่ ส่วนหนอนผีเสื้อสีตาลมีลำตัวยาวเรียวไปทางปลาย หัวและปลายหาง มีลายขีดสีน้ำตาลตามยาว คล้ายใบหญ้า หรือใบหมากที่เป็นพืชอาหาร หนอนที่มีหนามยื่นออกรอบตัว เป็นหนอนพวกผีเสื้อขาหน้าพู่ พวกผีเสื้อสีน้ำเงินกินพืชตระกูล ถั่วและไม้ผลต่างๆ ตัวหนอนลักษณะกลมๆ พองออกตอน กลางตัว หัวซ่อนอยู่ข้างใต้ตัว


 
          หนอนบางพวกมีการป้องกันอันตรายจากพวกนก และ ศัตรูอื่นๆ เช่น หนอนของผีเสื้อหางติ่ง มักมีจุดคล้ายดวงตากลม อยู่บริเวณตอนใกล้หัว มันจะพองส่วนนี้ออกเวลามีอันตราย ทำ ให้จุดดวงตานี้ขยายโตออก และยังมีอวัยวะสีแดงรูปสองแฉก อยู่ด้านหลังของส่วนหัว เรียกว่า ออสมีทีเรียม (osmeterium) อวัยวะขยายออกได้โดยใช้แรงดันของเลือด สามารถส่งกลิ่น เหม็นออกมาใช้ไล่ศัตรูได้ บางพวกก็ชักใยเอาใบไม้ห่อหุ้มตัวไว้ หรือเอาวัตถุอื่นๆ ทั้งใบไม้แห้งและมูลของมันมากองรวมกัน บังตัวเอาไว้
         หนอนของผีเสื้อบางชนิดไม่กินพืช แต่กินอาหารที่แปลก ออกไป คือ ผีเสื้อดักแด้หัวลิง 
(Spalgis epeus) กินพวกเพลี้ยเกล็ด (scale insects) ผีเสื้อหนอนกินเพลี้ย (Miletus chinensis) กินพวกเพลี้ยอ่อน (aphids) ส่วนผีเสื้อมอท (Liphyra brassolis)ตัวหนอนอาศัย อยู่ในรังของมดแดง (Oecophylla smaragdina) และกินตัวอ่อนของมดแดงเป็นอาหาร  


การลอกคราบ
          หนอนจะเติบโตขึ้นได้ต้องมีการลอกคราบหลายครั้ง ส่วน มากผีเสื้อจะลอกคราบประมาณ ๔-๕ ครั้ง เหตุที่ต้องลอกคราบ เนื่องจากตัวหนอนมีผนังลำตัวหุ้มห่ออยู่ภายนอก เมื่อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จะเติบโตคับผนังลำตัวที่ห่ออยู่ กรรมวิธีในการลอก คราบจะเริ่มเมื่อหนอนชักใยยึดลำตัวไว้กับพื้นที่เกาะ ก่อนการ ลอกคราบราว ๒๔ ชั่วโมง ต่อมาผนังลำตัวจะปริแตกออก ทางด้านหลังของหัว หนอนจะค่อยๆ คืบไปข้างหน้าอย่างช้าๆ จนหลุดออกจากคราบ ผนังลำตัวใหม่มีสีสดใสกว่าเก่า ตัวหนอน จะดูมีหัวโตกว่าส่วนลำตัว ระยะแรก มันจะอยู่นิ่งราว ๒-๓ ชั่วโมง จนกระทั่งผนังลำตัวและส่วนปากแข็งพอที่จะกัดใบพืช อาหารได้ ระยะนี้เป็นระยะที่อันตรายต่อตัวหนอนมาก เนื่อง จากมันอยู่ในสภาพที่อ่อนแอป้องกันตัวเองไม่ได้ 


ระยะดักแด้
          เมื่อหนอนลอกคราบจนครบ และเติบโตเต็มที่แล้ว จะหยุด กินอาหาร หาที่หลบซ่อนตัวพักอยู่อย่างนั้นสัก ๑๒ ชั่วโมง หรืออาจนานกว่า ระหว่างนี้จะสร้างแผ่นไหมเล็กๆที่ปลายลำตัว เพื่อใช้ขอเล็กๆ เกี่ยวเอาไว้ให้มั่นคง ก่อนลอกคราบครั้งสุดท้าย เป็นดักแด้
          หนอนที่จะลอกคราบ จะสูบเอาอากาศเข้าสู่ภายในตัว เกิดรอยปริแตกขึ้นทางด้านหลังของส่วนอก แล้วรอยปริจะ แตกเรื่อยไปสู่ปลายลำตัว เมื่อคราบลอกออกไปแล้ว ผิวหนัง ที่อยู่ภายในอีกชั้นหนึ่งจะห่อหุ้มให้มีรูปร่างเป็นตัวดักแด้ แต่ ยังนุ่มและมีสีจาง ต้องใช้เวลาอีกหลายชั่วโมง จึงจะแข็งตัว และสีจะเข้มขึ้น
         ลักษณะของดักแด้ผีเสื้อพอจะแยกออกได้เป็น ๓ แบบ คือ พวกห้อยหัวลง พวกนี้ใช้ขอเล็กๆ ที่ปลายลำตัวเกี่ยวไว้กับ แผ่นไหมเล็กๆ แล้วห้อยหัวลง พบในดักแด้ของผีเสื้อหนอนรัก และผีเสื้อขาหน้าพู่ พวกที่สอง นอกจากมีขอเกี่ยวที่ปลายลำตัว แล้ว ยังมีสายใยเล็กรัดรอบตัวช่วยพยุงดักแด้เอาไว้กับที่เกาะ ได้แก่ ดักแด้ของผีเสื้อหางติ่ง และผีเสื้อหนอนกะหล่ำ พวก สุดท้ายเป็นดักแด้ที่ไม่มีอะไรยึดกับวัตถุที่เกาะ แต่จะวางราบบน พื้นดิน หรืออยู่ในม้วนใบไม้ที่ยึดติดกันเป็นหลอด หรืออยู่ในรัง ไหม เช่น ดักแด้ของผีเสื้อสีตาลบางชนิด ดักแด้ของผีเสื้อบิน เร็ว และดักแด้ของผีเสื้อกลางคืนส่วนมาก
         เนื่องจากดักแด้เป็นระยะที่อยู่นิ่ง เกิดอันตรายจากศัตรู ได้ง่าย ดักแด้จึงมีสี และรูปร่างกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม บาง ชนิดมีรูปร่างคล้ายกิ่งไม้หัก บางชนิดมีลักษณะใบไม้แห้ง การ ที่หนอนซึ่งดูน่าเกลียดมีหนามและขนปกคลุมตัว กลายสภาพ มาเป็นดักแด้ที่อยู่นิ่งเฉย ไม่กินอะไรเลย จึงเป็นเรื่องประหลาด ทางธรรมชาติมาก  



 ระยะตัวเต็มวัย
          พอดักแด้มีอายุประมาณ ๗-๑๐ วัน เมื่อใกล้จะออกมา เป็นผีเสื้อ เราจะเห็นสีของปีกผ่านทางผนังลำตัวได้ ผีเสื้อที่โตเต็มที่แล้ว จะใช้ขาดันเอาเปลือกดักแด้ให้แตกออก แล้วดันให้ ปริออกทางด้านหลังของส่วนอก ค่อยๆขยับตัวออกมาจนพ้น คราบดักแด้ ส่วนมากมักออกมาโดยการห้อยหัวลง เพื่อใช้แรง ดึงดูดของโลกช่วย ตอนออกมาใหม่ๆ ผีเสื้อมีส่วนท้องใหญ่ และปีกยู่ยี่เล็กนิดเดียว มันจะคลานไปหาที่เกาะยึด แล้วห้อยปีก ทั้งสองลงข้างล่าง ระหว่างนี้มันจะปล่อยของเหลวสีชมพูอ่อน ทางปลายส่วนท้อง สารนี้เป็นของเสียที่เกิดขึ้นในขณะที่เป็น ดักแด้เรียกว่า มิวโคเนียม (muconium) ผีเสื้อจะดูดเอาอากาศ จำนวนมากเข้าไปทางงวงและรูหายใจ แรงดันของอากาศและ การหดตัวของกล้ามเนื้อ จะอัดดันให้เลือดไหลไปตามเส้นปีก ปีกจึงขยายออกจนโตเต็มที่ การขยายปีกออกนี้กินเวลาประมาณ ๒๐ นาที มันต้องผึ่งปีกให้แห้งแข็งดีเสียก่อนราวชั่วโมงครึ่ง จึงจะออกบินไปหากินต่อไป



สีและลวดลายบนปีกของผีเสื้อ
          ลวดลายและสีบนปีกผีเสื้อประกอบ ขึ้นด้วยเกล็ดสีเล็กๆ เรียงกันคล้ายกระเบื้องบนหลังคา สีของแต่ละเกล็ดจะเกิดจากเม็ดสีภายในเกล็ด หรือเกล็ดที่ไม่มี เม็ดสีภายใน แต่มีรูปร่างเป็นสันนูนสะท้อนแสงสีรุ้งออกมาได้ เม็ดสีอาจสร้างได้จากสารเคมีในตัวแมลงเอง หรือจาก สารเคมีที่แปลงรูปมาจากพืชอาหารของมัน สีเหลืองเรียกว่า เทอรีน (pterines) มาจากพวกกรดยูริก ซึ่งเป็นสิ่งขับถ่าย พบในผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ สีแดง และสีส้มพบใน พวกผีเสื้อขาหน้าพู่ สีแดงนี้จะค่อยๆ ซีดลง เมื่อถูกกับออกซิเจน ในอากาศ ผีเสื้อพวกนี้เมื่อออกมาใหม่ๆ จึงมีสีสดกว่าพวกที่ออก มานานแล้ว แต่ถ้านำไปรมไอคลอรีน สีจะกลับคืนมา บางทีจะมี สีสดใสกว่าเดิม ส่วนสารฟลาโวน (flavone) ได้มาจากพืช สารนี้อยู่ในดอกไม้ ทำให้มีสีขาวจนถึงสีเหลือง พบในผีเสื้อสีตาล และผีเสื้อบินเร็วบางพวก สารนี้จะเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีเหลือง เข้มเมื่อถูกกับแอมโมเนีย สารพวกเมลานิน (melanin) เป็น สารสีดำ พบในคนและสัตว์สีดำทั่วไป สีเขียวและสีม่วงฟ้า เป็นสีที่เกิดจากการสะท้อนแสงของเกล็ดสีบนปีก โดยแสงจะส่องผ่านเยื่อบางๆหลายชั้นที่ประกอบกันเป็นเกล็ด หรือสะท้อน จากเกล็ดที่เป็นสันยาวเหมือนสีรุ้งที่สะท้อนให้เห็นบนฟองสบู่
           ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตลมมรสุม จึงมีลักษณะของ อากาศในฤดูฝนกับฤดูร้อนแตกต่างกันมาก สภาพนี้มีผลต่อ ผีเสื้อหลายพวก ทำให้มีลักษณะและสีเป็นรูปร่างเฉพาะของ แต่ละฤดู เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพป่าในฤดูนั้นๆ เช่น ในฤดู ฝนจะมีสีสดใส และมีจุดดวงตากลม (ocellus) ข้างใต้ปีก และขอบปีกจะมนกลม ในหน้าแล้ง ลายและสีใต้ปีกจะไม่พบเป็น รูปดวงตากลม แต่มีลายกระเลอะๆ อย่างใบไม้แห้งแทน และ ปีกจะหักเป็นมุมยื่นแหลมออกมา ผีเสื้อเหล่านี้ เช่น ผีเสื้อตาล พุ่ม 
(Mycalesisspp.) และผีเสื้อแพนซี มยุรา (Precis almana) สิ่งแปลกที่พบในพวกผีเสื้อก็คล้ายกับที่พบในพวกนกบาง ชนิด คือ มีสีสันของปีกในเพศหนึ่งแตกต่างจากอีกเพศหนึ่ง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในสมัยก่อนจัดเอาไว้เป็นคนละชนิด หรือคนละสกุล เช่น ผีเสื้อหนอนส้ม (Papilio polytes) ผีเสื้อปีกไข่เมียเลียน (Hypolimnas misippus) นอกจากนี้ ผีเสื้อบางชนิดยังมีลักษณะของเพศใดเพศหนึ่ง แตกต่างกันออกไปอีกหลาย แบบ แต่ละแบบอาจมีสีสันแตกต่างกันออกไป จนคนทั่วไปไม่อาจเชื่อได้ว่า เป็นชนิดเดียวกัน พวกที่เพศเมียมีรูปร่างหลายแบบ เช่น ผีเสื้อหางติ่ง ผีเสื้อนางละเวง (Papilio memnon) ผีเสื้อหนอนมะพร้าว (Elymnias hypermnestra) ส่วนชนิดที่เพศผู้มีรูปร่าง หลายแบบได้แก่ ผีเสื้อบารอนฮอสพีลด์ (Euthalia monina)  
            โดยปกติผีเสื้อทุกตัวมีความแตกต่างกันบ้างไม่มากก็น้อย แม้ว่าจะเป็นผีเสื้อชนิดเดียวกัน บางตัวอาจมีลักษณะ หรือสีที่ แตกต่างจากตัวอื่นๆ เรียกว่า ความผิดเพี้ยน (aberration) ซึ่ง อาจเกิดจากสภาพอากาศ หรือเหตุอื่นๆที่มีผลกระทบกระเทือนต่อ ดักแด้ ในระยะที่มีการสร้างเม็ดสีภายในตัว หรืออาจเกิดจากการ ผ่าเหล่าทางพันธุกรรม จึงมีสีจางหรือเข้มกว่าปกติ บางทีมีลวด- ลายบนตัวแตกต่างไปจากลายปกติแบบที่หาได้ยากมาก เรียกว่า จีแนนโดรมอร์ฟ (gynandromorph) มีลำตัวแบ่งออกเป็น ๒ ซีก ซีกซ้ายเป็นตัวผู้ และซีกขวาเป็นตัวเมีย แต่ละซีกจะแสดงสีสัน และขนาดของเพศนั้นๆ ดูแปลกมาก พบผีเสื้อที่มีลักษณะแบบ นี้ในบริเวณจังหวัดชุมพร เป็นผีเสื้อหนอนใบกุ่มเส้นดำ (Appias libythea) นับเป็นครั้งแรกที่พบในประเทศไทย




การบินของผีเสื้อ
          ส่วนมากปีกคู่หลังของผีเสื้อจะมีขนาดเล็กกว่าปีกคู่หน้า และเพื่อที่จะให้บินได้ดี จะต้องมีการยืดติดเป็นอันหนึ่งอันเดียว กันในแต่ละข้าง โดยขอบหน้าของปีกคู่หลังจะยื่นขยายออกมา ซ้อนกับปีกคู่หน้า ซึ่งจะอัดติดกันแน่นเวลาบิน ส่วนผีเสื้อกลาง คืนจะมีขอเล็กๆ เกี่ยวกันไว้ดังกล่าวข้างต้น ในเรื่องลักษณะ แตกต่างกันระหว่างผีเสื้อกลางวันกับผีเสื้อกลางคืน ผีเสื้อที่มี พื้นที่ปีกน้อยเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวจะกระพือปีกเร็วมาก เช่น ผีเสื้อบินเร็ว ส่วนพวกที่มีพื้นที่ปีกมากๆ เช่น ผีเสื้อร่อนลม (ldea spp.) กระพือปีกช้ามาก และกางปีกออกร่อน ไปตามสายลม อัตราเฉลี่ยของการกระพือปีกของผีเสื้อประมาณ ๘-๑๒ ครั้งต่อวินาที ส่วนความเร็วของการบินนั้น ผีเสื้อหนอน กะหล่ำบินได้เร็ว ๑๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอาจบินได้เร็วกว่านี้ ถ้าตกใจหรือหนีอันตราย
         ผีเสื้อจึงเป็นแมลงที่มีความสามารถในการบินมาก พบ ว่ามีการบินอพยพเป็นฝูงใหญ่ๆ เนืองๆ ชนิดที่มีชื่อเสียงที่สุด ในการบินอพยพ ได้แก่ ผีเสื้อในทวีปอเมริกาเหนือที่มีชื่อว่า Danaus plexippus ผีเสื้อชนิดนี้บินจากตอนเหนือของ ทวีปอเมริกาเหนือ หนีอากาศหนาวลงไปอยู่บริเวณตอนใต้แถวๆ อ่าวเม็กซิโก พอเริ่มฤดูใบไม้ผลิ จะบินย้อนกลับขึ้นไปวางไข่ทาง ภาคเหนืออีก ส่วนในประเทศไทย เคยมีผู้สังเกตเห็นการบินอพยพของ ผีเสื้อหลายชนิด ส่วนมากมักเป็นการบินอพยพย้ายถิ่น หรือ บินขึ้นลงภูเขาตามลำน้ำในตอนเช้าและตอนเย็น เพื่อหลบความ ร้อนของแดดในเวลากลางวัน และการบินอพยพมักไม่เกิดเป็น ประจำอย่างเช่นผีเสื้อในประเทศหนาว เนื่องจากอุณหภูมิของ อากาศในบ้านเราไม่ค่อยแตกต่างกันมาก  



การป้องกันอันตรายจากศัตรู
          ผีเสื้อที่ออกบินจะมีศัตรูน้อยลงกว่าในระยะที่ยังเป็นตัว หนอน ศัตรูที่สำคัญในเวลากลางวัน ได้แก่ นกจาบคา (bee- eaters) และนกแซงแซว (drongos) นกพวกนี้บินได้ว่องไว สามารถจับผีเสื้อในขณะที่บินในอากาศได้ เมื่อจับได้แล้วมัน จะคาบมาเกาะกินบนกิ่งไม้ ผู้เขียนเคยพบนกจาบคาหัวสีส้ม (Merops leschenaulti) บินจับผีเสื้อหนอนคูน(Catopsiliasp.) กินหลายตัว ที่อำเภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ศัตรูที่สำคัญรองลงมา คือ พวก กิ้งก่าที่จับผีเสื้อที่ชอบเกาะตามพุ่มไม้ ก้อนหิน และตามพื้น ดินกินเป็นอาหาร ในเวลากลางคืน ศัตรูที่สำคัญคือ ค้างคาว กินแมลงชนิดต่างๆ การป้องกันอันตรายจากศัตรูของผีเสื้อพอจะแยกออกได้ เป็น ๕ วิธีด้วยกันคือ
       ๑. วิธีการบิน
           ผีเสื้อมีวิธีการบินเป็น ๒ พวก คือ พวกที่บินเร็วอย่าง เช่น ผีเสื้อตาลหนาม 
      (Charaxes) ผีเสื้อหางติ่ง (Papilio) บินได้เร็วมาก จนมีศัตรูน้อยชนิดที่อาจ บินไล่จับได้ทัน พวกนี้ส่วนมากมีสีสดใส อีกพวกหนึ่งบินได้ช้า และบินแปลกไปจากผีเสื้อทั่วไป เพื่อให้ศัตรูงงเวลาเห็น จนไม่ คิดว่าเป็นผีเสื้อ เช่น ผีเสื้อกะลาสี (Neptis)และ ผีเสื้อแผนที่ (Cyrestis) กลุ่มหลังนี้บินร่อนไปช้าๆ นานๆ จะกระพือปีกสักที มักมีลวดลายลวงตาบางอย่างบนปีก ทำให้ศัตรูติดตามได้ยาก ปกติพวกที่มีสารพิษอยู่ในตัวมักบินช้า เพื่อให้ศัตรูรู้จัก และเป็นการประกาศคุณสมบัติในตัวของมัน หรือเป็นการลวง ตาศัตรู
       ๒. การป้องกันตัวด้วยสีและลวดลายบนปีก
           ผีเสื้อส่วนมากที่ไม่มีสารพิษในตัว และไม่มีสีสดใสเพื่อ ประกาศคุณสมบัตินี้ มักป้องกันตัวเองด้วยสีสัน และลวดลาย ที่อยู่ทางด้านใต้ปีก โดยเฉพาะปีกคู่หลัง เนื่องจากผีเสื้อเวลา เกาะพักจะพับปีกขึ้น และช่วงเวลาพักเป็นช่วงที่อันตรายที่สุด ลวดลายอาจจะกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่มันอาศัย เช่น ใต้ ปีกของผีเสื้อปลายปีกส้มใหญ่ 
      (Hebomoia glaucippe) เป็นลายกระคล้ายกับทรายแห้ง หรือมีลักษณะคล้ายกับวัตถุใดวัตถุหนึ่งอาจเป็นใบไม้ ดังพบในผีเสื้อใบไม้ใหญ่ (Kallima) และ ในผีเสื้อตาลสายัณห์บางแบบ และผีเสื้อแพนซีมยุราบางแบบ เพื่อที่จะให้สภาพกลมกลืนดียิ่งขึ้น ผีเสื้อพวกนี้มักเกาะตามกิ่ง หรือตามลำต้นไม้ แล้วทอดปีกไปตามแนวกิ่งไม้
           ผีเสื้อบินเร็ว และผีเสื้อป่า ตลอดจนผีเสื้อตาลสายัณห์ มักมีสีน้ำตาลหรือมีลายเปรอะ ถึงแม้ว่าบางชนิดชอบอาศัยอยู่ ตามที่ร่มครึ้มและค่อนข้างมืด ซึ่งปลอดภัยจากศัตรูตาม ธรรมชาติหลายจำพวก
           ส่วนพวกที่มีจุดตากลมๆใต้ปีกดังเช่นพวกผีเสื้อป่านั้น เชื่อ กันว่า มันใช้ในการทำให้ศัตรูตกใจ หรือทำให้ศัตรูโจมตีตรง จุดที่ไม่สำคัญนัก เช่นเดียวกับหางเส้นเล็กๆ ตามขอบปีกคู่หลัง ในพวกผีเสื้อสีน้ำเงิน โดยจะมีปีกยื่นออกมาเป็นติ่ง ซึ่งมีจุดดำ ตรงกลาง ประกอบกับมีหางยื่นออกมา ทำให้ดูคล้ายเป็นหัว และหนวด
            การป้องกันตัวอีกแบบหนึ่ง พบในพวกผีเสื้อสีน้ำเงิน โดยมีสีน้ำเงินวาวทางด้านบนปีก และสีดำคล้ำทางด้านใต้ปีก ทำให้พวกนกที่กำลังไล่ผีเสื้อสีน้ำเงินอยู่หาลำตัวผีเสื้อสีคล้ำที่ กำลังเกาะอยู่ไม่พบ
            ผีเสื้ออีกกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในป่าทึบที่มีแสงแดดเล็ด- ลอดลงไปถึงพื้นได้บ้าง จะมีสีดำจุดขาว ทำให้กลมกลืนกับสภาพพื้นป่า เช่น ผีเสื้อกะลาสี ผีเสื้อจ่า
      (Athymal) พวกเหล่านี้เวลาบินจะร่อนแผ่ปีกออกตามแนวนอนอีกด้วย 
       ๓. นิสัย
          นิสัยของผีเสื้อบางชนิดช่วยให้รอดพ้นจากศัตรูได้ ผีเสื้อ บินเร็วหลายชนิด ผีเสื้อป่า และผีเสื้อตาลสายัณห์ มีนิสัยชอบ ออกหากินเวลาเช้ามืด หรือตอนโพล้เพล้ เพื่อหลบนกที่ออกหา กินกลางวัน แต่ยังไม่ทราบว่า จะถูกพวกค้างคาวกินบ้างหรือไม่ ผีเสื้อพวกนี้ยังชอบเกาะอยู่ตามที่มืดๆ หรือในพุ่มไม้หนาทึบ ผีเสื้อตัวเมียส่วนมากมีนิสัยเช่นเดียวกันนี้
       ๔. การป้องกันตัวโดยกลิ่นและรสที่ไม่ดี
          ผีเสื้อบางพวกที่กินพืชที่มีพิษ จะได้พิษนั้นๆ ติดไปด้วย ซึ่งพวกสัตว์กินแมลงและกิ้งก่าไม่ชอบสารพวกนี้ พวกนี้จะมี สีสันฉูดฉาดเป็นการประกาศคุณสมบัติของตัว และบินไปมา อย่างช้าๆ เพื่อให้ศัตรูมีเวลาจ้องดูนานๆ จนจำได้ บางทีนกที่ ยังรุ่นหนุ่ม มีประสบการณ์น้อยอาจจับผีเสื้อพวกนี้กินได้ ผีเสื้อ พวกนี้จึงต้องมีผนังลำตัวแข็งเหนียว และบางคราวอาจแกล้ง ทำตายได้อีกด้วย
        ๕. การเลียนแบบ
           จากคุณสมบัติป้องกันตัวได้ของผีเสื้อในข้อที่ ๔ ทำให้ ผีเสื้ออีกพวกที่ไม่มีคุณสมบัตินั้นๆ และจะตกเป็นเหยื่อของศัตรู ได้ง่ายๆ พากันเลียนแบบรูปร่าง นิสัย ตลอดจนวิธีการบินของ พวกที่ป้องกันตัวได้ดี อาจจะเลียนแบบทั้งสองเพศ หรือเลียน แบบเฉพาะเพศเมียเท่านั้น ส่วนมากจะเลียนแบบเฉพาะด้านบน ของปีก แต่บางทีก็ด้านใต้ปีก หรือทั้งสองด้าน
                การเลียนแบบแบ่งออกได้เป็น ๒ อย่าง คือ
                ๑. การเลียนแบบแบบเบตส์ (batesian mimicry) ตัวที่มีสีสดใส มีกลิ่นและรสไม่ดี เป็นตัวแบบ(model) ให้ตัวเลียนแบบ (mimic) ซึ่งเป็นผีเสื้อที่ศัตรูชอบกิน มา เลียนแบบทั้งรูปร่าง สีสัน และนิสัยการบิน
                ๒. การเลียนแบบแบบมูลเลอร์ (mullerian mimicry) กลุ่มผีเสื้อที่ศัตรูไม่ชอบกินอยู่ แล้วมาเลียนแบบกันเอง ทำให้ลักษณะของแบบนั้น ศัตรูรู้จักได้ง่ายและเร็วขึ้นกว่า เดิม เช่น พวกผีเสื้อหนอนใบรักสีฟ้า 
      (Danaus) หลายชนิด และพวกผีเสื้อจรกา (Euploea)  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น